เมื่อวันที่ 18 เมษายน 2560 เวลาประมาณ 18.00 น. พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ เสด็จไปยังแปลงนาของเกษตรกร ตำบลแสนตอ อำเภอขาณุวรลักษบุรี จังหวัดกำแพงเพชร ซึ่งพื้นที่ดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งในพื้นที่ 1,600 ไร่ ของเกษตร 90 ราย ที่สมัครใจเข้าร่วมโครงการทำนาแบบประณีตเพื่อนพึ่ง ภาฯ ตามคำแนะนำของผู้แทนพระองค์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี เมื่อครั้งเดินทางไปมอบถุงยังชีพพระราชทานแก่ผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่จังหวัดกำแพงเพชร เมื่อเดือนตุลาคม 2559 หลังพบว่าพื้นที่ดังกล่าวประสบปัญหาทั้งภัยแล้งและอุทกภัย
โอกาสนี้ ทรงเกี่ยวข้าว กข. 41 จากแปลงนาแบบประณีตเพื่อนพึ่ง ภาฯ ของนายเลาะ โพธิ์พฤกษ์ ซึ่งหย่อนกล้าข้าวเมื่อวันที่ 7 มกราคม 2560 ใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวปลูกประมาณ 5 กิโลกรัมต่อไร่ กำหนดเก็บเกี่ยว วันที่ 18-20 เมษายนนี้ พื้นที่รวม 21 ไร่ คาดว่าจะได้ผลผลิตข้าวเปลือกเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับนาหว่านน้ำตม จาก 500-700 กิโลกรัมต่อไร่ เป็น 800-1,200 กิโลกรัมต่อไร่ โดยสิ่งสำคัญที่ทำให้โครงการประสบผลสำเร็จคือ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการทำนาของเกษตรกรให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ และการทำงานแบบบูรณาการร่วมกันของมูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง ภาฯ ยามยาก สภากาชาดไทย หน่วยงานภาครัฐและภาคประชาชน โดยพื้นที่นา 1,600 ไร่ที่เข้าร่วมโครงการฯ จะกลายเป็นพื้นที่ต้นแบบเพื่อขยายผลไปสู่พื้นที่อื่นๆในจังหวัดกำแพงเพชร
พร้อมกันนี้ ได้ทอดพระเนตรการสาธิตการทำนาแบบประณีตเพื่อนพึ่ง ภาฯ โดยใช้ "นวัตกรรมอุปกรณ์หย่อนกล้าข้าวแบบประณีตเพื่อนพึ่ง ภาฯ เคยู" ซึ่งมูลนิธิฯร่วมกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในการพัฒนานวัตกรรมและจดสิทธิบัตรอุปกรณ์ดังกล่าว นำไปใช้เพื่อเพิ่มผลผลิต เพิ่มคุณภาพข้าว รวมถึงลดต้นทุนการผลิต
ในการนี้ ทรงติดตามความคืบหน้าการดำเนินงานทำนาแบบประณีตเพื่อนพึ่ง ภาฯ ช่วยชาวนาผู้ประสบอุทกภัย ปี 2559 ซึ่งนอกจากได้ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์แล้ว มูลนิธิฯได้ร่วมกับมหาวิทยาลัยขอนแก่น พัฒนาทีมงานผู้จัดการทำนาแบบประณีต ซึ่งจะนำอุปกรณ์นวัตกรรมหย่อนกล้าข้าวไปใช้รับจ้างตามวิถีเกษตรประณีตเพื่อนพึ่ง ภาฯ ตามวัตถุประสงค์ของมูลนิธิฯ ซึ่งทีมผู้จัดการทำนาจะมีรายได้จากการรับจ้าง และเกษตรกรเจ้าของแปลงนาจะได้ผลผลิตที่สูงขึ้น ขณะที่ต้นทุนการผลิตลดลง โดยในปีที่ผ่านมามูลนิธิฯได้นำนวัตกรรมดังกล่าวไปช่วยเหลือเกษตรผู้ปลูกข้าว 2 จังหวัด คือ กำแพงเพชร และพิษณุโลก พบว่าต้นข้าวเจริญงอกงาม ได้ผลผลิตตามที่คาดหวัง ผลผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 34 ลดรายจ่ายได้ 1,200-1,500 บาท ต่อไร่ พร้อมกันนี้ ทอดพระเนตรนิทรรศการผลการดำเนินงานการทำนาแบบประณีตเพื่อนพึ่ง ภาฯ จังหวัดกำแพงเพชร และทรงเยี่ยมราษฎรที่มาเฝ้ารับเสด็จ
ขอบคุณเนื้อหาข่าวจาก http://news.ch7.com
โอกาสนี้ ทรงเกี่ยวข้าว กข. 41 จากแปลงนาแบบประณีตเพื่อนพึ่ง ภาฯ ของนายเลาะ โพธิ์พฤกษ์ ซึ่งหย่อนกล้าข้าวเมื่อวันที่ 7 มกราคม 2560 ใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวปลูกประมาณ 5 กิโลกรัมต่อไร่ กำหนดเก็บเกี่ยว วันที่ 18-20 เมษายนนี้ พื้นที่รวม 21 ไร่ คาดว่าจะได้ผลผลิตข้าวเปลือกเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับนาหว่านน้ำตม จาก 500-700 กิโลกรัมต่อไร่ เป็น 800-1,200 กิโลกรัมต่อไร่ โดยสิ่งสำคัญที่ทำให้โครงการประสบผลสำเร็จคือ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการทำนาของเกษตรกรให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ และการทำงานแบบบูรณาการร่วมกันของมูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง ภาฯ ยามยาก สภากาชาดไทย หน่วยงานภาครัฐและภาคประชาชน โดยพื้นที่นา 1,600 ไร่ที่เข้าร่วมโครงการฯ จะกลายเป็นพื้นที่ต้นแบบเพื่อขยายผลไปสู่พื้นที่อื่นๆในจังหวัดกำแพงเพชร
พร้อมกันนี้ ได้ทอดพระเนตรการสาธิตการทำนาแบบประณีตเพื่อนพึ่ง ภาฯ โดยใช้ "นวัตกรรมอุปกรณ์หย่อนกล้าข้าวแบบประณีตเพื่อนพึ่ง ภาฯ เคยู" ซึ่งมูลนิธิฯร่วมกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในการพัฒนานวัตกรรมและจดสิทธิบัตรอุปกรณ์ดังกล่าว นำไปใช้เพื่อเพิ่มผลผลิต เพิ่มคุณภาพข้าว รวมถึงลดต้นทุนการผลิต
ในการนี้ ทรงติดตามความคืบหน้าการดำเนินงานทำนาแบบประณีตเพื่อนพึ่ง ภาฯ ช่วยชาวนาผู้ประสบอุทกภัย ปี 2559 ซึ่งนอกจากได้ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์แล้ว มูลนิธิฯได้ร่วมกับมหาวิทยาลัยขอนแก่น พัฒนาทีมงานผู้จัดการทำนาแบบประณีต ซึ่งจะนำอุปกรณ์นวัตกรรมหย่อนกล้าข้าวไปใช้รับจ้างตามวิถีเกษตรประณีตเพื่อนพึ่ง ภาฯ ตามวัตถุประสงค์ของมูลนิธิฯ ซึ่งทีมผู้จัดการทำนาจะมีรายได้จากการรับจ้าง และเกษตรกรเจ้าของแปลงนาจะได้ผลผลิตที่สูงขึ้น ขณะที่ต้นทุนการผลิตลดลง โดยในปีที่ผ่านมามูลนิธิฯได้นำนวัตกรรมดังกล่าวไปช่วยเหลือเกษตรผู้ปลูกข้าว 2 จังหวัด คือ กำแพงเพชร และพิษณุโลก พบว่าต้นข้าวเจริญงอกงาม ได้ผลผลิตตามที่คาดหวัง ผลผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 34 ลดรายจ่ายได้ 1,200-1,500 บาท ต่อไร่ พร้อมกันนี้ ทอดพระเนตรนิทรรศการผลการดำเนินงานการทำนาแบบประณีตเพื่อนพึ่ง ภาฯ จังหวัดกำแพงเพชร และทรงเยี่ยมราษฎรที่มาเฝ้ารับเสด็จ
ขอบคุณเนื้อหาข่าวจาก http://news.ch7.com
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น